บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่12 เดือน กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 13.30-15.30 น.
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 8.30 - 13.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนของวันนี้เป็นไปด้วยดี จะเป็นการเรียนทฤษฎีที่ครูฉายจากพาวเวอร์พ้อย
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ ครูบรรยายพร้อมอธิบายอย่างเข้าใจ
ภาพกิจกรรม
5. ให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้
เป็นทฤษฎีความรู้ที่ครอบคุมระหว่างการศึกษาผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ เป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปปรับใช้กับผู้ปกครองของเด็กในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรู้วิธีการเข้าหาผู้ปกครองที่ถูกต้องเหมาะสม
วันจันทร์ ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 8.30 - 13.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนการสอนของวันนี้เป็นไปด้วยดี จะเป็นการเรียนทฤษฎีที่ครูฉายจากพาวเวอร์พ้อย
บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ ครูบรรยายพร้อมอธิบายอย่างเข้าใจ
ภาพกิจกรรม
ภาพกิจกรรมการเรียนกานสอนในชั้นเรียน
คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วม
กันอย่างไร
ตอบ เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โดยผลักดัน
ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
- แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง
“การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง
“การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม
จงอธิบาย
ตอบ ให้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ให้คำปรึกษาหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูหรือการปรับพฤติกรรมเด็ก จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหรือสิ่งพิมพ์ให้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กที่เหมาะสมกับวัยและชั้นเรียน แนะนำหนังสือ website และสื่อต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมเด็กในทุกด้านให้แก่ผู้ปกครอง แนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมลักษณะนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติที่บ้าน การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันของเด็กและครอบครัวทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อการเรียนรู้ที่สถานศึกษาและบ้านสอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกัน อีกทั้งผู้ปกครองยังสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยอาจจะเริ่มจากการหาสถานที่ประจำซึ่งเงียบสงบให้เด็กทำการบ้าน จัดบอร์ดหรือสถานที่ในการจัดแสดงผลงานต่างๆ ของเด็ก จัดสื่อ เกม หนังสือที่เหมาะกับเด็กในวัยนี้ ให้โอกาสเด็กได้ฝึกช่วยเหลือตนเอง ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ตามวัย
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต
จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง
เพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
- 1. เก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลของเด็กกับครู เพื่อจะได้เข้าใจเด็กและจัดการปัญหาเด็กร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง ข้อมูลสำคัญของเด็กได้แก่ สุขภาพเด็ก พฤติกรรมของเด็กที่ครอบครัวและโรงเรียน ผลการเรียนรู้ของเด็ก และกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดให้
- 2. ร่วมกับครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เช่น การเป็นวิทยากรหรือร่วมคัดสรรวิทยากร การร่วมเลือกสาระการเรียนรู้สำหรับเด็ก การสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้ ร่วมประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก ฯลฯ
- 3. การเข้าประชุม อบรมรับความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- 4. อบรมเลี้ยงดูให้สอดคล้องกับสถานศึกษา ทำความเข้าใจด้านจิตวิทยาของเด็ก เช่น การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีให้เด็กศรัทธา รัก และไว้ใจ เป็นผู้สร้างความสุขในครอบครัว ปลูกฝังคุณธรรมเป็นรากฐานให้เด็กรักที่เรียนรู้
5. ให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัดของตนเอง
ตัวอย่าง
เช่นเด็กชอบเล่นดนตรีก็พาไเรียนดนตรีเป็นส่วนสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้กับสิ่งทีตนชอบ เด็กก็จะสนุกและมีความสามารถ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ -มีความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
-มีความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
-มีความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
-มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ การสนทนาระหว่างครูกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองและลูกจะได้พบกับครูหรือครูประจำชั้นเพื่อสนทนาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กเทอมละครั้ง
การสนทนาจะเกี่ยวกับความเป็นไปของลูกของคุณที่โรงเรียน ว่าผลการเรียนในวิชาต่างๆ
นั้นเป็นไปด้วยดีและการพัฒนาก้าวหน้าของลูกของคุณในเวลาต่อไปจะพัฒนาก้าวหน้าต่อไปอย่างไร โดยใช้แบบประเมินผลที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อจดบันทึกพฤติกรรมที่ได้พูดคุยสนทนากับผู้ปกครองโดยตรง
การนำไปประยุกต์ใช้
เป็นทฤษฎีความรู้ที่ครอบคุมระหว่างการศึกษาผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศ เป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปปรับใช้กับผู้ปกครองของเด็กในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรู้วิธีการเข้าหาผู้ปกครองที่ถูกต้องเหมาะสม
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ครูเข้าห้องมาด้วยความพร้อมจึงเริ่มเรียนทันที โดยเริ่มจากการสอนทฤษฎีครูบรรยายพร้อมอธิบาย หลังจากนั้นก็ทำกิจกรรมเล่นเกมส์ มีทั้งเกมส์ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เวลาเท่าไหร่ กับใครเป็นเกมส์ส่งเสริมการสื่อสาร เกมส์สื่อความหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างเกมส์ที่ครูให้ออกมาทำให้เห็นภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในขณะเล่นเกมส์ก็สร้างบรรยากาศให้สนุกสนานเฮฮาและอยากเรียนเพราะสนุกไม่เครียดไม่ง่วงค่ะ
ภาพกิจกรรม
วันจันทร์ ที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.30-15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ครูเข้าห้องมาด้วยความพร้อมจึงเริ่มเรียนทันที โดยเริ่มจากการสอนทฤษฎีครูบรรยายพร้อมอธิบาย หลังจากนั้นก็ทำกิจกรรมเล่นเกมส์ มีทั้งเกมส์ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เวลาเท่าไหร่ กับใครเป็นเกมส์ส่งเสริมการสื่อสาร เกมส์สื่อความหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างเกมส์ที่ครูให้ออกมาทำให้เห็นภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในขณะเล่นเกมส์ก็สร้างบรรยากาศให้สนุกสนานเฮฮาและอยากเรียนเพราะสนุกไม่เครียดไม่ง่วงค่ะ
ครูบรรยายและอธิบายให้ความรู้เรื่องการสื่อสารกับผู้ปกครอง
การส่งเสริมการสื่อสาร
เกมส์ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เวลาเท่าไหร่ กับใคร
เกมส์การสื่อความหมาย
เกมส์ใบคำ
คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ หากผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กได้ทั้ง 6 ด้าน หรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ผู้ปกครองก็จะเป็นหุ้นส่วนของโรงเรียนในการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กสู่คุณภาพสูงสุดได้แน่นอน มีวิจัยมากมายที่บ่งบอกถึงประโยชน์ (benefits) ของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างจริงจัง ว่าจะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จทางการศึกษาและชีวิตในหลายด้าน และรัฐบาลหลายประเทศ รวมถึง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ทุกสถานศึกษาทุกระดับ ส่งเสริม เสริมสร้าง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กอย่างจริงจังจนเรียกได้ว่า ผู้ปกครอง “เป็นหุ้นส่วน” ของสถานศึกษา ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ควรเป็นรูปแบบใด
จงอธิบายพร้อมตัวอย่าง
ตอบ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครองมี 2 รูปแบบคือ
1. การสื่อสารอย่างเป็นทางการ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
- บันทึก หรือ จดหมาย จากครูและผู้ปกครองในลักษณะของการให้หรือขอข้อมูล การเชิญประชุม การเข้าร่วมในกิจกรรมโรงเรียน อาสาสมัครในการทำงานที่โรงเรียน ระบุความช่วยเหลือของผู้ปกครองที่บ้าน
-การประชุมผู้ปกครองอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรม หรือความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้
- จดหมายข่าวของชั้นเรียนและเด็ก
2. การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
-การเยี่ยมชมชั้นเรียนของผู้ปกครอง
-การสนทนาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือกิจกรรม ที่เริ่มโดยผู้ดูแลเด็ก หรือ ผู้ปกครอง
-การโทรศัพท์ที่เริ่มด้วยผู้ดูแลเด็กหรือผู้ปกครอง
-การแลกเปลี่ยนบันทึกระหว่างผู้ปกครองและครู
-การตรวจเยี่ยมบ้านอย่างไม่เป็นทางการ
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ •
เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
•เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง
เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ
เกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมและเกมส์การสื่อสารไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็ก
เรียนรู้ด้วยการลงมือทำมีการคิดเกมส์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมฒนาการทั้ง 4 ด้านด้วยเทคนิค
ใหม่ๆที่หน้าสนใจ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย
ความสำคัญของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจเป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง
บทบาทหน้าที่ด้านการเลี้ยงดู
ภารกิจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง คือ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา บทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูเด็กมี 3 ประการ คื
1. เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
2. เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
3. เป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10ประการ
1. ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3. ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7. ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม
บทสรุป
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เข้าใจคำว่าผู้ปกครองมากขึ้น รู้จักหน้าที่ บทบาทของผู้ปกครอง จะนำไปใช้เมื่อเป็นเจอผู้ปกครองของเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง :วันนี้ก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกสิ่งที่ต้องการแก้ไขลงในช็อตโน้ตที่เตรียมไว้
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและจดบันทึกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : ครูอธิบายการทำโครงการอย่างละเอียด และให้คำแนะนำที่ดีเพื่อนำไปปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)